เช็ครีวิวและเปรียบเทียบสินค้าขายดีบนอินเตอร์เน็ต

ประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์อยู่เหนือการเมือง ผู้เขียน : ธงชัย วินิจจะกูล

จำหน่ายโดยร้านค้า : attorney285 บน Shopee

315฿350฿ โปรฯ

ลองดู ประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์อยู่เหนือการเมือง ผู้เขียน : ธงชัย วินิจจะกูล นี่อาจเป็นสินค้าที่แก้ปัญหาให้กับคุณได้

👉 ขายแล้วมากกว่า 8 ชิ้น
👉 ชื่นชอบแล้วมากกว่า 26 ครั้ง
👉 ส่งจาก จังหวัดกรุงเทพมหานคร

การกดถูกใจกว่า 26 ครั้งของสินค้าประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์อยู่เหนือการเมือง ผู้เขียน : ธงชัย วินิจจะกูล และ 8 ชิ้นที่ขายได้ของสินค้าประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์อยู่เหนือการเมือง ผู้เขียน : ธงชัย วินิจจะกูล อาจจะยังไม่สามารถทำให้คุณมั่นใจเพียงพอก่อนที่จะตัดสินใจสั่งซื้อสินค้าสินค้าประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์อยู่เหนือการเมือง ผู้เขียน : ธงชัย วินิจจะกูล หากเว็บไซต์ของเรามีรีวิวของสินค้าที่เพียงพอ คุณควรอ่านรีวิวของสินค้าก่อนการตัดสินใจสั่งซื้อสินค้าสินค้าประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์อยู่เหนือการเมือง ผู้เขียน : ธงชัย วินิจจะกูล อีกสักเล็กน้อย แต่หากรีวิวบนเว็บไซต์ของเรามีไม่เพียงพอ คุณสามารถที่จะกดปุ่มไปยังผู้ขายสำหรับรายละเอียดสินค้า รีวิว และสามารถสั่งซื้อกับผู้ขายได้โดยตรงบน ช้อปปี้ โดยร้านค้า attorney285

ลองดูรายละเอียดสินค้า ประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์อยู่เหนือการเมือง ผู้เขียน : ธงชัย วินิจจะกูล จากร้านค้า attorney285 บน ช้อปปี้

ประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์อยู่เหนือการเมือง
ผู้เขียน : ธงชัย วินิจจะกูล
จำนวนหน้า : 336 หน้า
ขนาด : 16.4 x 23.9 ซม.
รูปแบบ: ปกอ่อน
9786167667225
ฟ้าเดียวกัน

หนังสือ ประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์อยู่เหนือการเมือง รวมบทความว่าด้วยประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยใหม่ของธงชัย วินิจจะกูล ที่เขียนขึ้นระหว่างปี 2547-2555 ในฐานะนักประวัติศาสตร์ ธงชัยได้คลี่ให้เห็นเค้าโครงประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยไทยแบบเป็นกระแสซ้อนกัน โดยดูจากประวัติศาสตร์ในช่วงยาว ซึ่งเริ่มจากการสร้างรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในสมัยรัชกาลที่ 5 มาจนถึงประชาธิปไตยแบบอำมาตย์ ท่ามกลางวิกฤตการเมืองเหลือง-แดงที่ยังดำเนินอยู่ในปัจจุบัน

ในสายธารประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยอันยาวนาน ธงชัยวิเคราะห์ ให้เราเห็นการต่อสู้ต่อรองของผู้เล่นมากหน้าหลายตา ทั้งการปะทะกันระหว่างสถาบันกษัตริย์และฝ่ายนิยมเจ้า กับคณะราษฎรและผู้เอาใจช่วยระบอบใหม่ที่มีจุดยืนร่วมกันว่า “อำนาจสูงสุดนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย” เพื่อกำหนดสถานะและอำนาจของสถาบันกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ การปะทะกันระหว่างกองทัพกับฝ่ายเสรีนิยมที่จบลงด้วยชัยชนะอย่างไม่กระโตกกระตากของสถาบันกษัตริย์ รวมถึงความขัดแย้งระหว่างนักการเมืองและกลุ่มทุนกับขบวนการพลเมืองซึ่งหันไปเป็นพันธมิตรกับฝ่ายนิยมเจ้า ทั้งนี้ทั้งนั้น ผู้เล่นที่ธงชัยวิเคราะห์แจกแจงบทบาทไว้อย่างละเอียดและลุ่มลึกที่สุดก็คือ สถาบันกษัตริย์ที่คนส่วนใหญ่มองว่ามีสถานะ “เหนือการเมือง”

กล่าวได้ว่า การวิเคราะห์วิพากษ์บทบาทสถาบันกษัตริย์ของธงชัยเป็นเสียงเตือนที่มาก่อนกาล ดังจะเห็นได้จากภาค 1 “ประชาธิปไตยแบบไทย” ซึ่งทั้งหมดเขียนขึ้นก่อนรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ธงชัยชี้ให้เห็นว่า สถานะเหนือการเมืองของสถาบันกษัตริย์เป็นส่วนหนึ่งในระบบการเมืองไทย และกำลังได้รับความเชื่อถือสูงยิ่งขึ้น เมื่อความไว้วางใจต่อรัฐสภาลดต่ำลง

ธงชัยเตือนหนักๆ ตั้งแต่ตอนนั้นแล้วว่า ความพยายามต่อสู้กับรัฐบาลบ้าอำนาจด้วยวาทกรรมพระราชอำนาจเป็นเรื่องที่อันตรายอย่างยิ่ง และยังแนะด้วยว่า จะข้ามให้พ้นประชาธิปไตยแบบหลัง 14 ตุลาที่สถาบันกษัตริย์ได้ขึ้นมามีบทบาทนำมากขึ้นนั้น ต้องมองให้ออกว่าประชาธิปไตยไทยเป็นระบบการเมืองแบบสามเส้า ได้แก่ มวลชน ทุนกับนักการเมือง และฝ่ายกษัตริย์นิยม โดยมีสถาบันกษัตริย์อยู่เหนือระบบการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง

เมื่อเกิดรัฐประหาร 2549 ของฝ่ายเจ้าขึ้นจริงตามคาด ในภาค 2 “รัฐประหาร” นอกจากสถาบันกษัตริย์และฝ่ายนิยมเจ้าซึ่งถูกธงชัยวิพากษ์แล้ว บรรดาปัญญาชนทั้งหลายที่ทำตัวเป็นอภิชน pragmatists ให้การรับรองความชอบธรรมในการรัฐประหาร ก็เป็นอีกหนึ่งเป้าหมายหลักในการวิพากษ์ด้วยเช่นกัน ในส่วนนี้นอกจากบทความที่ “วิวาทะ” กับผู้สนับสนุนรัฐประหารแล้ว ในบทความ “ล้มประชาธิปไตย” ธงชัยได้ “ถอยออกมาหนึ่งก้าว” เพื่อชี้ให้เห็นบริบททางประวัติศาสตร์ของการต่อสู้เพื่อเป็นประชาธิปไตย (Democratization) โดยแจกแจงวาทกรรมเชิงยุทธศาสตร์ของฝ่ายเจ้าที่ปูทางมาสู่การรัฐประหารครั้งนี้ ด้วยการชี้ให้เห็นการกลับมาของสถาบันกษัตริย์ในการเมืองไทย การปรับตัวจนกลายมาเป็นสถาบันกษัตริย์ยุคใหม่ และการเกิดขึ้นของลัทธิกษัตริย์นิยมที่เป็น “ประชาธิปไตย” พร้อมกับวิเคราะห์ให้เห็นด้านกลับของวาทกรรมทำการเมืองให้สะอาดของ “ภาคประชาชน” ที่เกื้อหนุนให้เกิดการรัฐประหารอีกด้วย

ขณะที่ภาค 3 “สังหารหมู่” ไม่แปลกที่จะมีลักษณะอัตวิสัย (subjective) ค่อนข้างสูง เพราะธงชัยเขียนในฐานะผู้รอดชีวิตจากการสังหารหมู่ 6 ตุลา และถูกกล่าวหาว่าจงใจให้เกิดความรุนแรงในเหตุการณ์ครั้งนั้นเพื่อก่อให้เกิดภาวะ “ตายสิบเกิดแสน” บทความแรกเป็นการวิเคราะห์ปฏิกิริยาของชนชั้นกลางชาวกรุงต่อเหตุการณ์คนเสื้อแดงบุกโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งมีฐานมาจากการครุ่นคิดเรื่องความแตกต่างระหว่างเมืองกับชนบทมาเป็นเวลาหลายปี ขณะที่บทความหลังเป็นความพยายามทำความเข้าใจโศกนาฏกรรมสังหารหมู่คนเสื้อแดงตรงราชประสงค์และกระบวนการปรับแปลงลงเป็นประวัติศาสตร์หลังจากนั้น โดยมองผ่านหนังและวรรณกรรม กล่าวได้ว่า จากประสบการณ์ส่วนตัวทำให้ธงชัย “เข้าใจ” แกนนำเสื้อแดงในฐานะ “มนุษย์” คนหนึ่ง

ในสภาวะปลายรัชกาลที่วิกฤตอันจะเกิดขึ้นจากการสืบราชสมบัติเป็นสิ่งที่ไม่อาจปฏิเสธได้อีกต่อไป ภาค 4 “เปลี่ยน (ไม่) ผ่าน” ซึ่งประกอบด้วยบทความ 3 ชิ้น ที่ย้อนกลับไปวิเคราะห์ถึงการสร้างรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของสยามโดยมีประวัติศาสตร์แบบราชาชาตินิยมเป็นแกนหลัก มาจนถึงสภาวะที่เกิดการเผชิญหน้ากันระหว่าง “สถาบันกษัตริย์กับฝ่ายต่อต้านเครือข่ายกษัตริย์” ในปัจจุบัน ชัดอยู่แล้วว่าบทความ ดังกล่าวกำลังสื่อสารอะไรกับสังคมไทยและโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสถาบันกษัตริย์และฝ่ายกษัตริย์นิยม ฉะนั้น อย่าปล่อยให้ “น้อยเกินไปสายเกินการณ์” เรียนรู้บทเรียนจากประวัติศาสตร์บ้าง น่าจะเป็นทางเลือกที่ช่วยให้เจ็บปวดน้อยกว่าในท้ายที่สุด

ในฐานะผู้จัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้ เรา -ฟ้าเดียวกัน- หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ด้วยวิธีวิทยาแบบประวัติศาสตร์หลากกระแสหลายมิติที่ธงชัย วินิจจะกูล ได้แสดงให้เห็น ในหนังสือเล่มนี้จะทำให้เราพึงตระหนักว่า การต่อสู้เพื่อเป็นประชาธิปไตยนั้น ต้องถือว่าประชาธิปไตยมิใช่เพียงแค่เครื่องมือ (tool) แต่คือวิถีทาง (means) ที่เป็นจุดหมาย (end) และการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยมิใช่เป็นการต่อสู้ครั้งสุดท้ายหรือม้วนเดียวจบแบบที่พูดๆ กัน แต่เป็นการถกเถียง วิพากษ์วิจารณ์ เป็นวิถีทางที่ไม่สิ้นสุด และไม่เคยสมบูรณ์

สารบัญ

คำนำสำนักพิมพ์
คำนำผู้เขียน
ภาค 1 ประชาธิปไตยแบบไทย
บทที่ 1 ชัยชนะของเสรีประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์อยู่เหนือการเมือง
บทที่ 2 วาทกรรมพระราชอำนาจหรือประชาธิปไตยแบบคิดสั้น
บทที่ 3 ข้ามให้พ้นประชาธิปไตยแบบหลัง 14 ตุลา
ภาค 2 รัฐประหาร
บทที่ 4 รัฐประหารของฝ่ายเจ้ากับแรงจูงใจซ่อนเร้น
บทที่ 5 ล้มประชาธิปไตย
บทที่ 6 สัมฤทธิผลนิยม (Pragmatism) ของปัญญาชนไทยกับการรัฐประหาร19 กันยายน 2549
บทที่ 7 เริ่มต้นประชาธิปไตยแบบภูมิปัญญาไทยหรืออภิชนาธิปไตย


ข้อมูลสินค้า รายละเอียดสินค้าและรูปภาพสินค้าจากร้าน attorney285 บนช้อปปี้ ก่อนการตัดสินใจซื้อสินค้า กรุณาตรวจสอบรายละเอียดสินค้าให้แน่ใจอีกครั้งในช่องทางการสั่งซื้อของผู้ขายเนื่องจากข้อมูลสินค้ารวมถึงรูปภาพสินค้าภายในเว็บไซต์นี้อาจล้าสมัยไม่อัพเดทในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งผู้ขายอาจมีการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขของสินค้าหรือข้อเสนอต่าง ๆ ไปได้ เงื่อนไขและข้อกำหนดในการคุ้มครองเมื่อสั่งซื้อสินค้าเป็นไปตามเงื่อนไขของแพลตฟอร์มนั้น ๆ เมื่อทำรายการสั่งซื้อ

สินค้าเกี่ยวข้องล่าสุด